คัมภีร์ใบลานวัดบวรนิเวศวิหาร

คัมภีร์ใบลานวัดบวรนิเวศวิหาร

ได้รับการรวบรวมมาตั้งแต่สมัยพระวชิรญาโณ (พระภิกษุพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงครองวัด คัมภีร์ใบลานเหล่านี้ รวบรวมไว้ตั้งแต่สมัยพระวชิรญาโณ (พระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงครองวัด บูรพาจารย์วัดบวรนิเวศวิหารในชั้นหลัง เช่น สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้ทรงใช้คัมภีร์ใบลานเหล่านี้ ศึกษา ตรวจชำ ระและจัดแปลเป็นภาษาไทย พร้อมจัดพิมพ์ให้แพร่หลายแล้ว ส่วนการศึกษา วิจัยตรวจสอบคัมภีร์ในเชิงคำสอนจากใบลานต่างๆ จัดแปลเป็นภาษาต่างประเทศ และจัดพิมพ์ให้แพร่หลายไปสู่ประชาคมนานาชาติ ยังไม่ค่อยแพร่หลายนัก เนื่องจาก นักวิชาการภาษาบาลีที่สามารถตรวจชำ ระคัมภีร์ใบลานและจัดแปลตามมาตรฐาน สากลยังมีน้อยมากในประเทศไทย
โดยเฉพาะสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิร ญาณสังวร ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้ากรรมการแผนกตำ ราของ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๑ และ ๒๕๑๕-๒๕๑๖ เมื่อครั้งยังทรงดำ รงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณและสมเด็จพระญาณ สังวรตามลำดับ

ต่อมา เมื่อถึงสมัยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารในฐานะเจ้าอาวาสตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๔-๒๕๕๗ พระองค์ได้ดำ เนินการให้มีการจัดแปลและจัดพิมพ์ พระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ นอกจากนั้น ทรงขยายการผลิตตำ รับตำ ราทางพระพุทธศาสนาไปสู่ภาษาต่าง ประเทศด้วย เนื่องจากได้เสด็จไปเผยแผ่และดูงานทางพระพุทธศาสนา ในต่างประเทศบ่อยครั้ง ทั้งในประเทศอังกฤษ อินโดนีเซีย เนปาล ออสเตรเลีย ฯลฯ ทรงมองเห็นความจำ เป็นที่จะต้องจัดพิมพ์ตำ รับตำ รา งานวิจัยหรืองานศึกษาคัมภีร์ใบลาน เพื่อจัดพิมพ์และจัดแปลให้ประชาชน ทั่วไปได้ศึกษาอย่างกว้างขวาง

คณะผู้บริหารมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฝ่ายฆราวาสได้ฟังว่า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวรทรงมีพระประสงค์ จะสืบทอดพระเจตนารมณ์ของวชิรญาโณภิกฺขุ (พระภิกษุพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ผู้ทรงตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในวัดบวรนิเวศวิหาร

รายละเอียดคัมภีร์ใบลาน

เพื่อเริ่มจัดพิมพ์ตำ รับตำ ราทางพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก แต่เจ้า ประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงมีพระ ประสงค์จะทรงเน้นจัดพิมพ์หนังสือทางพระพุทธศาสนา โดย ขยายไปถึงภาษาอังกฤษด้วย โดยทรงริเริ่มให้บรรดาศิษยานุศิษย์ เช่น พระขันติปาโล (Laurence Mills) และอาจารย์มหาวิทยาลัยมหามกุฏ ราชวิทยาลัย เช่น นายศิริ พุธศุกร์ และนายสุชิน ทองหยวก ช่วยกันแปล

พร้อมกันนั้น พระองค์ก็ส่งพระธรรมทูตไปเผยแผ่ยังประเทศต่างๆ ทรงให้มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ สนับสนุน ด้านการเงินในการสร้างวัดต่างๆ ในหลายประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินโดนีเซีย เนปาล
ปีพุทธศักราช ๒๕๓๘ จนถึงปัจจุบัน สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวรได้ทรงมีคำสั่งมหามกุฏราชวิทยาลัยที่ ๖/๒๕๓๘ ลงวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ แต่งตั้งพระเทพกวี (สมณศักดิ์ ในปัจจุบันคือ สมเด็จพระวันรัต) เป็นหัวหน้าแผนกตำ ราของมูลนิธิมหา มกุฏราชวิทยาลัย เพื่อดูแลการจัดพิมพ์ตำ รับตำ รา และตรวจชำ ระคัมภีร์ ใบลานต่างๆ ที่เคยมีมาแต่เดิม และต่อมา ทรงมีคำสั่งมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่ ๓๒/๒๕๒๘ ลงวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ แต่งตั้งนายปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์เป็นที่ปรึกษาทางวิชาการประจำ มูลนิธิมหามกุฏ ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์10 เพื่อพัฒนาตำ รับตำ ราทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศให้มากขึ้น

นอกจากนั้น ยังประทานทุนการศึกษา ผ่านมูลนิธิมหามกุฏ ราชวิทยาลัย เพื่อให้นายปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ ไปศึกษาทางพระพุทธศาสนาต่อยังมหาวิทยาลัยลอนดอน และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ โดยกรรมการผู้จัดการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์สมัยนั้นคือ นายชลอ ธรรมศิริ ได้มอบหมายภาระให้ นายปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ เน้นศึกษาวิธีการตรวจชำ ระคัมภีร์ใบ ลานรวมทั้งการจัดพิมพ์และจัดแปลของสมาคมบาลีปกรณ์ (Pali Text Society) เพื่อนำความรู้มาเป็นบรรทัดฐานในการตรวจชำ ระคัมภีร์ใบ ลาน และจัดแปลในระดับสากลเพื่อให้มีผลงานจัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เพิ่มเติมจากที่ดำ เนินการอยู่เป็นภาษาไทยต่อไป